<aside> 💡

</aside>

หน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560


   รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาซึ่งมีหน้าที่และอำนาจทางด้านนิติบัญญัติและด้านอื่น ๆ จึงต้องมีผู้มีอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานและการบริหารงานของรัฐสภา คือประธานรัฐสภามาจาก ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานรัฐสภามาจากผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภา คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกัน เมื่อมีการประชุมร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะเป็นการประชุมรัฐสภาอันมีลักษณะเฉพาะ เช่น จำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นการประชุมรัฐสภาซึ่งจำนวนสมาชิกรัฐสภามาจากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกัน ผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภามีจำนวน 2 คน คือประธานรัฐสภาจำนวน 1 คนและรองประธานรัฐสภาจำนวน 1 คน ลักษณะของการประชุมต้องเป็นการประชุมรัฐสภาและต้องมีบทบัญญัติให้มีการประชุมในเรื่องนั้นไว้โดยเฉพาะจึงจะมีการประชุมรัฐสภาได้ตลอดจนต้องเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศ เป็นอย่างยิ่งและจะไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเหมือนกับการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญของ สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา.

  เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาไว้แตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไว้ในหลายกรณี เช่น การเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณา กรณีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภา การเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ หรือการให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ในการนี้จะได้กล่าวถึงหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ดังนี้

หน่วยงานในสังกัดรัฐสภา


ส่วนราชการ

สถาบันเครือข่าย

หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

อ้างอิง