<aside> 🏛️ กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการเกี่ยวกับการต่างประเทศทั้งหมด ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงเป็นผู้เสริมสร้างพัฒนาการสู่ความสำเร็จในพันธกิจ สนธิสัญญาต่าง ๆ ระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมอำนาจการต่อรอง เกียรติภูมิของประเทศในสมาคมโลก เพิ่มบทบาทและความเชื่อมั่นของประเทศเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์ของชาติและประชากรไทย ให้บริการการต่างประเทศแก่คนไทยและคนต่างประเทศในฐานะเจ้าบ้านด่านแรก
</aside>
ในตอนต้นของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวน้้น การต่างประเทศ และการคลังของแผ่นดินยังอยู่รวมกันภายใต้เสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุ นิติภาวะ และทรงบริหารราชการแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2416 นั้น การติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลตะวันตก ได้กลายเป็นราชการประจำและในขณะเดียวกันปัญหาสำคัญที่รัฐบาลประสบคือ การคลังของแผ่นดิน เนื่องจากก่อนหน้านั้น การเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นรายได้หลักของแผ่นดินได้กระจายอยู่ตามส่วนราชการต่างๆ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงแก้ไขปัญหาการคลังเป็น เรื่องแรก โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 เพื่อเป็นที่รวบรวมรายได้แผ่นดินและตรวจภาษีอากรของส่วนราชการต่าง ๆ และเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกกรมพระคลังมหาสมบัติออกจากกรมท่า
พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ดำรงตำแหน่ง "ผู้ว่าการต่างประเทศ" และให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 เป็นวันสถาปนากระทรวงการต่างประเทศ
ถึงแม้ว่ากรมพระคลังมหาสมบัติจะได้แยกออกไปจากกรมท่า และมิได้อยู่ภายใต้เสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2418 แล้วก็ตาม แต่กรมท่าก็ยังคงมีส่วนราชการซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการต่าง ประเทศ หัวเมืองขึ้นและศาลอยู่ในสังกัดอีกจำนวนหนึ่ง
การโอนส่วน ราชการซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศไปสังกัดกระทรวงหรือกรม อื่นได้เริ่มขึ้นโดยการโอนกรมอาสาใหม่ซ้าย - ขวา ไปสังกัดกระทรวงกลาโหม และโอนกรมพระคลังราชการกับกรมพระคลังป่าจากไปสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในปี พ.ศ. 2430
โอนศาลกรมท่ากลาง ศาลกรมท่าซ้าย ศาลกรมท่าขวา และศาลต่างประเทศ ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในคราวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกระทรวงนั้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434
โอนหัวเมืองขึ้น 14 เมืองไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อคราวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2437
โอนกรมท่าซ้ายไปสังกัดกระทรวงนครบาลเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 และโอนกรมท่าขวาไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2470
ในการแปรสภาพกรมท่ากลางให้เป็นกระทรวงการ ต่างประเทศตามแนวทางบรรดาอารยประเทศนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ ได้ทรงดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการขอพระราชทานที่ทำการเสนาบดีและข้าราชการทุกคนแทนการใช้วัง หรือบ้านของเสนาบดีเป็นที่ทำการ ซึ่งก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ให้ใช้เป็นที่ทำการแห่งแรก เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2428 โดยใช้ชื่อว่า "ศาลาว่าการต่างประเทศ" และยังไม่ใช้ชื่อว่า "กระทรวงการต่างประเทศ"
ถึงแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ จะทรงใช้ตำแหน่ง "เสนาบดีว่าการต่างประเทศ" แล้วก็ตาม สำหรับชื่อ "กระทรวงการต่างประเทศ" นั้น ปรากฏว่าได้เริ่มใช้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิก ระบบจตุสดมภ์และทดลองใช้ระบบเสนาบดีสภาเมื่อปี พ.ศ. 2431 โดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นหนึ่งในสี่กระทรวงแรกของแผ่นดิน และต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ระบบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการ 12 กระทรวง และเสนาบดีสภาเป็นการถาวร กระทรวงการต่างประเทศก็เป็น 1 ใน 12 กระทรวงดังกล่าว
สำหรับการจัด ระบบการปฏิบัติราชการในศาลาว่าการต่างประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ ได้ทรงริเริ่มการใช้ระบบสารบรรณและบรรณสารตามแบบสากล การใช้ระบบเงินเดือน การจัดทำทะเบียนประวัติ และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งต่าง ๆ ให้แน่ชัด กระทรวงการต่างประเทศได้มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ จนถึงปัจจุบัน